กระเทียมดำ

ชื่อสมุนไพร

กระเทียมดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Allium sativum L.

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • กระทียมดำ คือ กระเทียมที่ผ่านการหมักภายใต้อุณหภูมิ (60-90 องศา) และความชื้นสูง (80-90%) เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ทำให้กระเทียมมีสีดำมีกลิ่นกระเทียมลดลง และมีสารสำคัญ S-allylcysteine คาร์โบไฮเดรต (47%) และพลังงาน (1.6 เท่า) มากกว่ากระเทียมสด
  • งานวิจัยในผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงเล็กน้อย จำนวนน้อย (28 คน) รับประทานกระเทียมดำ ขนาด 6 กรัมต่อวัน เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ไม่มีผลลดระดับไขมันในเลือด ทั้งไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอล และไขมันไม่ดี (LDL)

          *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 88 คน รับประทานกระเทียมดำ ขนาด 1.2 กรัมต่อวัน (มีส่วนประกอบของ S-allylcysteine 1.2 มก.) ร่วมกับยารักษาความดันโลหิตสูง เป็นเวลา 3 เดือน พบว่า ช่วยลดความดันโลหิตค่าบน (systolic blood pressure) 5 มม.ปรอท และลดความดันโลหิตค่าล่าง (diastolic blood pressure) 1 มม.ปรอท

          *สูง, แนะนำให้ใช้ร่วมกับยารักษาความดันโลหิตสูง

  • การป้องกันโรคหัวใจ ควรรอผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือโดยไม่มีความลำเอียงจากบริษัทผลิตกระเทียมดำยี่ห้อใด ยี่ห้อหนึ่ง และควรมีการศึกษาในระยะยาว เพื่อยืนยันผล

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 2 การศึกษาในผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งทางเดินอาหาร จำนวน 3,365 คน รับประทานกระเทียมดำ ขนาด 400 มก.ต่อวัน ได้รับการติดตามผลเป็นเวลา 7 และ 14 ปี พบว่า ไม่ช่วยลดการเกิดมะเร็งทางเดินอาหาร

          *สูง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ จำนวน 14 คน รับประทานกระเทียมดำ ขนาด 2.4 กรัม ครั้งเดียว พบว่า ไม่มีผลเพิ่มการไหลเวียนเลือดในสมอง

          *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนยืนยันผลว่าช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด บำรุงตับ หรือรักษาภูมิแพ้ได้

          *ไม่มีข้อมูล, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Jung ES, Park SH, Choi EK, Ryu BH, Park BH, Kim DS, et al. Reduction of blood lipid parameters by a 12-wk supplementation of aged black garlic: a randomized controlled trial. Nutrition. 2014;30(9):1034-9.
  2. Ried K, Travica N, Sali A. The effect of aged garlic extract on blood pressure and other cardiovascular risk factors in uncontrolled hypertensives: the AGE at Heart trial. Integr Blood Press Control. 2016;9:9-21.
  3. Kimura S, Tung Y-C, Pan M-H, Su N-W, Lai Y-J, Cheng K-C. Black garlic: A critical review of its production, bioactivity, and application. J Food Drug Anal. 2017;25(1):62-70.
  4. Tsai J-C, Chen Y-A, Wu J-T, Cheng K-C, Lai P-S, Liu K-F, et al. Extracts from fermented black garlic exhibit a hepatoprotective effect on acute hepatic injury. Molecules. 2019;24(6):1112.
  5. Vlachojannis C, Schoenenberger AW, Erne P, Chrubasik-Hausmann S. Preliminary evidence of the clinical effectiveness of odourless garlic. Phytother Res. 2019;33(9):2179-91.
  6. Miraghajani M, Rafie N, Hajianfar H, Larijani B, Azadbakht L. Aged garlic and cancer: A systematic review. Int J Prev Med. 2018;9:84.
  7. Monash University Low FODMAP DietTM
  8. Volino-Souza, M., et al. A single dose of aged garlic extract did not change cerebral oxygenation and blood volume in older adults at cardiovascular risk factors. PharmaNutrition. 2023; 25: 100345.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154600